สารบัญ
ชนิดของดินที่ใช้
ปลูกอ้อย

หลักการพิจารณา
คุณสมบัติของดิน

การจัดการดิน
ทางด้านกายภาพ

การปรับปรุงและแก้ไข
ดินที่มีลักษณะทาง
กายภาพเลว

การปรับปรุงคุณสมบัติ
ทางเคมีของดิน

การแก้ดินกรดและ
การใช้ปูน

การใช้ปุ๋ยเคมี
กับอ้อย

จะให้ปุ๋ยปริมาณ
เท่าไรดี



































โดยปกติคำแนะนำการใส่ปุ๋ยให้แก่อ้อยที่ปฏิบัติกันทั่วโลก จะใช้ค่าวิเคราะห์ดินเป็นหลัก มีบ้างที่ใช้ค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารจากใบอ้อย ในที่นี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการประมาณการใช้ปุ๋ย โดยดูจากค่าวิเคราะห์ดิน

ธาตุไนโตรเจนในดินนั้น เรากะประมาณจากระดับ ของอินทรีย์วัตถุในดินเพราะอินทรีย์วัตถุในดินบนเป็นแหล่งสำคัญของไนโตรเจนตามธรรมชาติ ดินไร่ส่วนใหญ่ จะมีอินทรีย์วัตถุอยู่ระหว่าง 1-3 เปอร์เซ็นต์ ระดับของอินทรีย์วัตถุได้ แสดงไว้ในตารางที่ 2

สำหรับระดับของธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโปแตสเซี่ยมก็ได้จากการวิเคราะห์ดินเช่นกัน ส่วนระดับเท่าไรจึงจะเรียกว่าสูงหรือต่ำอย่างไร ได้แสดงไว้ในตารางที่ 3

เมื่อเราทราบผลวิเคราะห์ดินแล้วนำมาเปรียบเทียบค่ากับตารางที่ 2 และ 3 เราก็พอจะประมาณได้ว่าระดับของธาตุอาหารในดินแต่ละชนิดเป็นอย่างไร จากนั้นจึงนำมาประมาณการใช้ปุ๋ยโดยนำไปเทียบกับตารางที่ 4

การใช้วิธีเปรียบเทียบค่าวิเคราะห์ดินดังกล่าว ยังยุ่งยากเกินไปสำหรับเกษตรกร จึงขอแนะนำการให้ปุ๋ยแก่อ้อยโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้

สำหรับดินเขตภาคตะวันตก อาจใช้ปุ๋ย 16-20-0 หรือ 15-15-15 ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่รองก้นหลุมตอนปลูกแล้วใส่โรยข้างแถวอีกครั้งเมื่ออายุ 2-3 เดือน ด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือยูเรีย 25 กิโลกรัมต่อไร่

ดินเขตชลบุรีและระยองใช้ปุ๋ย 15-15-15 ประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมแล้วใช้แอมโมเนียมซัลเฟต 50 กิโลกรัมหรือยูเรีย 25 กิโลกรัมต่อไร่ ผสมกับโปแตสเซี่ยมซัลเฟต 30 กิโลกรัม โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน สำหรับการปลูกอ้อยที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดขอนแก่นอาจใช้วิธีให้ปุ๋ยเช่นเดียวกัน

ดินร่วนปนทรายเขตกำแพงเพชร ควรรองพื้นด้วยปุ๋ย 16-20-0 ประมาณ 30 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วแต่งหน้าด้วยแอมโมเนียมซัลเฟต 60 กิโลกรัมต่อไร่เมื่ออ้อยมีอายุ 2-3 เดือน

อัตราปุ๋ยเหล่านี้เป็นอัตราที่ใช้สำหรับอ้อยปลูก ส่วนอ้อยตออาจใช้สูตรเดียวกันนี้ใส่ข้างแถวเมื่อฝนตกแล้วอีก 2-3 เดือนให้แต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนให้สูงกว่าอ้อยปลูก เช่นใช้แอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ หรือยูเรีย 30 กิโลกรัมต่อไร่

ภาพที่ 10 ใส่ปุ๋ยเคมีโดยโรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่ออ้อยอายุประมาณ 2 เดือน