สารบัญ
ชนิดของดินที่ใช้
ปลูกอ้อย
หลักการพิจารณา
คุณสมบัติของดิน
การจัดการดิน
ทางด้านกายภาพ
การปรับปรุงและแก้ไข
ดินที่มีลักษณะทาง กายภาพเลว
การปรับปรุงคุณสมบัติ
ทางเคมีของดิน
การแก้ดินกรดและ
การใช้ปูน
การใช้ปุ๋ยเคมี
กับอ้อย
จะให้ปุ๋ยปริมาณ
เท่าไรดี
|
วิธีจะพิจารณาว่าดินดีหรือไม่ จะต้องพิจารณาร่วมกัน 2 ลักษณะคือ
1. ลักษณะรูปร่างและโครงสร้าง
ลักษณะนี้นักวิชาการเรียกว่าลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเกษตรกรพอจะสังเกตได้ด้วยตาเปล่าหรือการสัมผัสเช่น ดินมีลักษณะแน่นทึบหรือไม่ ดินเป็นทรายจัดหรือเป็นดินโปร่งร่วนซุย มีช่องว่างให้อากาศและน้ำอยู่หรือไม่ หรือเป็นดินดานที่รากอ้อยแทงไม่ทะลุ หน้าดินเวลาแห้งแล้วแข็งเป็นแผ่นหรือร่วนซุย เวลาให้น้ำหรือฝนตกน้ำซึมลงไปเร็วหรือช้าเหล่านี้เป็นต้น ดินที่มีโครงสร้างดีควรจะเป็นดินร่วนมีเนื้อดิน 45 เปอร์เซ็นต์ มีความชื้น 25 เปอร์เซ็นต์ มีช่องว่างให้อากาศอยู่ 25 เปอร์เซ็นต์ และที่เหลืออีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นอินทรีย์วัตถุ
2. ลักษณะทางเคมีและธาตุอาหาร
ลักษณะนี้เป็นการยากสำหรับเกษตรกรที่จะบอกได้ด้วยตาเปล่าหรือการสัมผัส นอกจากมองดูอาการของต้นอ้อย ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญมาก วิธีที่ดีที่สุดคือ การส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ลักษณะทางเคมีนี้ได้แก่ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ความเค็ม ปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน
|