สารบัญ
ชนิดของดินที่ใช้
ปลูกอ้อย
หลักการพิจารณา
คุณสมบัติของดิน
การจัดการดิน
ทางด้านกายภาพ
การปรับปรุงและแก้ไข
ดินที่มีลักษณะทาง กายภาพเลว
การปรับปรุงคุณสมบัติ
ทางเคมีของดิน
การแก้ดินกรดและ
การใช้ปูน
การใช้ปุ๋ยเคมี
กับอ้อย
จะให้ปุ๋ยปริมาณ
เท่าไรดี
|
- อ้อยก็เหมือนกับมนุษย์คือ ต้องการแร่ธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตแข็งแรง มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตและขยายพันธุ์ต่อ ๆ ไปได้ แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของอ้อยมี 16 ธาตุ บางธาตุอ้อยได้มาจากน้ำและอากาศ เช่นคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน บางธาตุอ้อยต้องการน้อยมากและดินเมืองไทยก็มีพอเพียงอยู่แล้วจึงไม่เป็นปัญหา มีธาตุอาหาร 3 ธาตุ ที่อ้อยต้องการในปริมาณมากและดินที่ปลูกอ้อยก็มีให้ไม่พอเพียง ธาตุทั้ง 3 คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ซึ่งเราจะต้องใส่เพิ่มให้กับไร่อ้อยในรูปของปุ๋ย
- ลักษณะทางเคมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อการปลูกอ้อยคือความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เราวัดได้โดยใช้ค่าที่เรียกว่าพีเอช ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1-14 โดยทั่วไปดินที่ทำการเกษตรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 4-8 แต่ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกอ้อยควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 6.0-7.5 เพราะธาตุอาหารในดินจะละลายออกมาให้อ้อยดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัดเกินไปจะทำให้ธาตุอาหารบางชนิดไม่ละลายออกมาให้อ้อยดูดไปใช้ได้ และธาตุอาหารบางชนิดละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษแก่อ้อย ดังนั้นถ้าเราทราบความเป็นกรดเป็นด่างของดินเราก็พอจะบอกได้คร่าว ๆ ว่า ดินจะมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์เพียงใด ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินในไร่อ้อยได้แสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การประเมินระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินในไร่อ้อย
ระดับความเป็นกรด-ด่างของดินในไร่อ้อย |
ค่า pH |
กรดรุนแรง | <4.5 |
กรดจัดมาก | 4.5-5.0 |
กรดจัด | 5.1-5.5 |
กรดปานกลาง | 5.6-6.0 |
กรดเล็กน้อย | 6.1-6.5 |
เป็นกลาง | 6.6-7.3 |
ด่างอ่อน | 7.4-7.8 |
ด่างปานกลาง | 7.9-8.4 |
ด่างจัด | 8.5-9.0 |
ด่างจัดมาก | >9.0 |
|