ข้อเท็จจริง
ปัญหา
คำแนะนำสำหรับเกษตรกร
วิธีการแก้ไขปัญหา
การปลูกข้าวโดยการหว่านข้าวแห้งหรือหว่านสำรวย
สรุป
1. ข้อเท็จจริง
สภาพการทำนาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเพื่อใช้ในการทำนาหว่าน และการปักดำสำหรับการใช้น้ำ
ชลประทานก็เพียงเพื่อการเสริมให้มีปริมาณน้ำพอเพียงเมื่อยามที่มีปริมาณน้ำฝนไม่พอเพียงเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากมี<
wbr>ฝนตกปกติตามฤดูกาลการใช้น้ำชลประทานก็ไม่มีความจำเป็น
2. ปัญหา
ตามที่ได้เกิดภาวะแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีผลทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและสิริกิตติ์ในปี 2535 อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่สามารถระบายน้ำเสริม เพื่อการทำนาปีในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาไ
ด้เป็นปกติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานจึงได้ประกาศให้เกษตรกรซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลื่อนการทำนาปีในเดือนสิงหาคม เป็นเหตุให้เกษตรกรต้องชะลอการลงมือปลูกข้าว
3. คำแนะนำสำหรับเกษตรกร
1. เลื่อนการทำนาปีออกไปจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุก คือประมาณต้นเดือนสิงหาคม
2. ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ถ้ามีปริมาณน้ำพอที่จะตกกล้าได้ แนะนำให้ทำนาดำ หรือหากมีน้ำมากพอก็ใช้วิธีหว่านน้ำตมได้เพื่อลดขั้นตอนและช่วงระยะเวลาการทำนา
3. ถ้าหากถึงกลางเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำในทุ่งยังไม่เพียงพอที่จะตกกล้า แนะ