1. ผนังกีบ
เป็นส่วนที่แข็งที่สุด ปกคลุมเท้าส่วนด้านนอก มองเห็นจากภายนอกได้ง่าย ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวทั้งหมด โดยเฉพาะขอบผนังกับด้านนอกลำตัวส่วนที่สัมผัสพื้นดิน
2. พื้นกีบ
เป็นส่วนที่มีความแข็งรองจากผนังกีบ อยู่ส่วนล่างสุดของกีบเท้าและสัมผัสพื้นดินตลอดเวลา โดยปกติโคที่มี สุขภาพสมบูรณ์ดี พื้นกีบจะมีความหนาประมาณ 5-7 มิลลิเมตร
3. ส้นกีบ
เป็นส่วนที่อยู่ด้านท้ายของกีบ มีความแข็งน้อย ค่อนข้างนุ่ม สามารถใช้นิ้วมือกดลงได้ เป็นส่วนที่ปกคลุม ส้นเท้า มีความยืดหยุ่นพอสมควร ช่วยให้การก้าวเดินของเท้าคล่องตัว
4. ซอกกีบ (หรือง่ามกีบ)
เป็นส่วนรอยต่อเชื่อมระหว่าง กีบเท้าด้านนอกและกีบเท้าด้านในของลำตัว ลักษณะเป็นส่วนของผิวหนังที่มี ความนุ่มและไม่มีขนปกคลุม เป็นส่วนที่อาจมีการหมักหมมของสิ่งสกปรกหรือเชื้อแบคทีเรียได้ง่า
5. ไรกีบ
เป็นส่วนรอยต่อ ระหว่างผิวหนังของขากับผนังกีบ เป็นจุดเริ่มแรกในการสร้างผนังกีบออกมา


กีบเท้า มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนด้านหน้าของกีบจะเอียงทำมุม ประมาณ 45 องศา ความยาวของ กีบเท้า วัดจากกีบเท้าด้านหน้า ส่วนความสูงของกีบ วัดจากความหนาของส้นกีบ
การมองและการสังเกต ความผิดปกติเกี่ยวกับ กีบยาวและกีบหนา ดูจากรูปภาพประกอบ


1. ป้องกันเนื้อเยื่อสร้างกีบของนิ้วเท้า
2. รองรับน้ำหนักตัวโค
กีบเท้า ต้องรับน้ำหนักตัวแม่โคตลอดเวลา ทั้งในช่วงยืนพักและช่วงก้าวเดิน น้ำหนักตัวที่ผ่านลงไปยังกระดูก นิ้วเท้าของกีบ จะกดกระแทกเนื้อเยื่อสร้างกีบที่ห่อหุ้มกระดูกนิ้วเท้าอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน เนื้อเยื่อสร้างกีบ ซึ่งมีหน้าที่สร้างเนื้อกีบให้หนาขึ้นและยาวขึ้น อาจจะได้รับอันตรายได้ ถ้ากีบเท้ามีรูปร่างลักษณะผิดปกติไป


เมื่อมองจากภาพตัดขวาง ทางด้านข้างและด้านหลังของกีบเท้า จะเห็นได้ว่า มุมของผนังกีบด้านหน้ากับ พื้นกีบ ทำมุมประมาณ 45 องศา กีบคู่ของเท้าหลังจะตั้งตรงและขนานกับ ทิศทางของแรงกดที่เกิดจากน้ำหนักตัวโคจะอยู่ในแนวแกนกลางของกีบ

เมื่อกีบมีความยาวเพิ่มขึ้น จะทำให้มุมปลายกีบแหลมขึ้น (น้อยกว่า 45 องศา) ทำให้เห็นได้ว่าแม่โคจะยืนใน ลักษณะยืนบนส้นเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการเจ็บเท้า เกิดรอยช้ำ และเป็นแผลบนพื้นกีบได้ นอกจากนี้ หากกีบเท้ามีความหนามากเกินไป จะทำให้กีบเท้าทั้งคู่แบะออกด้านข้างหรือกีบเอียงทำให้แนวทิศทางของ แรงกดที่เกิดจากน้ำหนักตัวโตผิดไปจากปกติ ทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน
ปัญหาความผิดปกติของกีบเท้าโค ส่วนมากจะเกิดกับขาคู่หลัง ในแต่ละขาซึ่งประกอบด้วยกีบคู่ คือ กีบนอก (กีบด้านนอกลำตัว) และกีบใน (กีบด้านในลำตัว) โดยปกติแล้วถ้าหากกีบเท้ามีลักษณะรูปร่างปกติดี สมบูรณ์ และแข็งแรง แม่โคสามารถยืนได้ตรง แต่ถ้าหากกีบนอกของแต่ละขามีความหนามากขึ้น ก็จะทำให้การยืนของ ขาคู่หลังถ่างออกหรือข้อเข่าบิดเข้าหากัน ความผิดปกติเช่นนี้ เป็นการปรับตัวของแม่โคแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นภายในกีบเท้า
การยืนของแม่โค จะมีการโยกลำตัวไปทางซ้ายและทางขวาสลับไปมาตลอดเวลา ทำให้แรงกดกระแทกซึ่งเกิด จากน้ำหนักตัว ถ่ายเทลงสู่กีบนอกมากกว่ากีบในของแต่ละขาของขาคู่หลัง เป็นต้นเหตุสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด การสร้างเนื้อกีบของกีบนอกเร็วกว่ากีบใน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ขาคู่หลังของแม่โคทุกตัวจะมีกีบนอกหนากว่า กีบใน และกีบนอกจะยาวเร็วกว่ากีบในด้วย จึงทำให้เห็นแม่โคยืนขาถ่างออก หรือข้อเข่าบิดเข้าหากันแต่ปลาย ขาถ่างออก
ปัญหากีบมีรูปทรงผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นปัญหาทั่วไป จำเป็นที่ผู้เลี้ยงโคนมต้องเข้าใจและหมั่นสังเกต การยืนการเดินของแม่โคทุกตัวในฟาร์มของตน หากพบว่ากีบมีความยาวหรือความหนาเพิ่มขึ้นผิดสังเกตแล้ว ก็ควรที่จะดำเนินการตัดแต่งกีบโคให้เข้าลักษณะที่ปกติ และควรสังเกตและแก้ไขเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ ต่อไป