ด้วย
การเลี้ยงไหมวัยอ่อน ควรใช้ฟองน้ำชุบน้ำมาวางล้อมรอบ
พื้นที่เลี้ยงไหมและใช้กระดาษพาราฟินปิดคลุม
ไหมวัยอ่อนจะกินใบหม่อนประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อแผ่นหรือกล่อง ควรเลี้ยงด้วยใบหม่อนสดตามเวลาที่กำหนด
ให้เพียงพอ โดยมื้อกลางวันให้เท่าหรือ น้อยกว่ามื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นให้มากกว่าเนื่องจากระยะเวลาที่หนอนไหมจะได้
กินใบหม่อนในมื้อต่อไปยาวกว่ามื้ออื่น ใบหม่อนที่ใช้เลี้ยงจะต้องหั่นให้มีขนาดพอดี
คือ หั่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสให้มีด้านยาวและด้านกว้างขนาดประมาณ 1 1/2
- 2 เท่าของความยาวของตัวหนอน
การเก็บใบหม่อนควรเก็บให้เหมาะสมกับวัย ดังนั้น
วัยที่ 1 ใบที่ 2-3 (นับจากยอดลงมา)
วัยที่ 2 ใบที่ 4-6
วัยที่ 3 ใบที่ 7-10 |
 |
พื้นที่เลี้ยงไหม
ในการเลี้ยงไหมที่ดี เกษตรกรควรจะดูแลอย่าให้จำนวนหนอนไหมในกระด้งแน่นแออัดเกินไป
มีการขยาย
พื้นที่เลี้ยงให้เหมาะสมในแต่ละวัย โดยไหมวัยอ่อนจะใช้พื้นที่ประมาณ 4
ตารางเมตร/กล่อง (อัตรา 5,000 ตัว/ตารางเมตร)
ตัวอย่าง การเลี้ยงไหม 1 กล่อง (แผ่น)
- วัยที่ 1 เริ่มเลี้ยงใช้พื้นที่ขนาด 1-1 1/2 เท่าของแผ่นไข่ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่
1 - 1.3 ตารางเมตร
- วัยที่ 2 ขยายพื้นที่ 2 ครั้ง ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่
2-3 ตารางเมตร
- วัยที่ 3 ขยายพื้นที่ 2 ครั้ง ตัวเต็มวัยใช้พื้นที่
4-6 ตารางเมตร
การถ่ายมูล
ควรถ่ายมูลไหมตามเวลาที่กำหนด คือ ช่วงก่อนไหมนอนและไหมตื่น เพื่อลดความชื้นและสิ่งหมักหมม
ดังนี้
- ช่วงก่อนไหมนอนโรยแกลบเผาหรือปูนขาว วางตาข่ายให้อาหาร
2 มื้อ แล้วยกตาข่ายถ่ายมูล
- ช่วงไหมนอน โรยแกลบเผาหรือปูนขาวเท่านั้น
- ช่วงไหมตื่น โรยสารเคมี วางตาข่ายให้อาหาร 2 มื้อ
แล้วยกตาข่ายถ่ายมูลออก
อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไหมวัยอ่อน
- วัยที่ 1 อุณหภูมิ 27-28 องศาเซลเซียส ความชื้น
90% ขึ้นไป
- วัยที่ 2 อุณหภูมิ 26-27 องศาเซลเซียส ความชื้น
85-90%
- วัยที่ 3 อุณหภูมิ 25-26 องศาเซลเซียส ความชื้น
80-85 ไหมนอน ความชื้นต่ำกว่า 70%
2. การเลี้ยงไหมวัยแก่
การเลี้ยงไหมวัยแก่ หมายถึง การเลี้ยงไหมวัย 4-5 จนกระทั่งไหมทำรัง การจัดพื้นที่เลี้ยงจะต้องมีขนาดเหมาะสม
กับปริมาณหนอนไหม เพราะหนอนตัวโตจะมีการเผาผลาญมาก อาจจะทำให้สภาพอากาศรอบ
ๆ ร้อน การจัด การแรงงานก็จะ