ลักษณะต่างๆ ของพันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก  
พันธุ์ยางชั้น 1  
สงขลา 36 
แม่ X พ่อ PB 5/63 x PB 107
แหล่งกำเนิด ไทย
ผลผลิต ผลผลิตสูงมากทั้นในระยะ 2 ปีแรก และปีกรีดต่อๆมา ในช่วงผลัดใบผลผลิตจะลดลงน้อยกว่าพันธุ์ RRIM 600 และ GT 1
การเจริญเติบโต ระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดมีการเจริญเติบโตปานกลาง ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง
ความหนาของเปลือก เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง
รอยแผลกรีด ถ้ากรีดลึกเป็นบาดแผลถึงเนื้อไม้ เปลือกงอกใหม่เสียหายเพียงเล็กน้อย
ความต้านทานโรค  
- ใบร่วงไฟทอปโทรา ดี
- ใบจุดออยเดียม อ่อนแอ
- ใบจุดคอลเลโทตริกัม อ่อนแอ
- เส้นดำ ปานกลาง
- ราสีชมพู อ่อนแอ
- เปลือกแห้ง ปานกลาง
ความต้านทานลม ปานกลาง
พื้นที่ปลูก ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรปลูกในพื้นที่ลาดชัน และมีระดับน้ำใต้ดินสูง
ข้อแนะนำ/ข้อสังเกต เนื่องจากน้ำยางของยางพันธุ์นี้ เมื่อนำไปทำเป็นยางแแผ่นดิบจะมีสีคล้ำ การแก้ไขสามารถทำได้โดยใช้สารเคมีโซเดียมเมตาไบซัลๆฟด์ อัตรา 0.02-0.06 กรัมของเนื้อสารบริสุทธิ์ต่อน้ำหนักเนื้อยางแห้ง 1 กิโลกรัมผสมในน้ำยางก่อนทำยางแผ่น (ใช้สารเคมี 2-6 กรัม ผสมน้ำ 100 มิลลิลิตรแล้วนำสารละลายนั้น 10 มิลลิลิตร ผสมน้ำยาง 1 ตะกง ซึ่งน้ำยาง 1 ตะกงมีเนื้อยางแห้งประมาณ 1 กิโลกรัม)