1. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ไม่ให้มีเมล็ดพันธุ์อื่น
หรือสิ่งเจือปน เช่น เมล็ดวัชพืช และมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูง 80
เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
2. เลือกวิธีการปลูกและช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ในเขตชลประทานที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำ ควรทำนาดำ
หรือนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ โดยนาดำให้เริ่มตกกล้ากลางเดือน
กรกฎาคม ปักดำต้นสิงหาคม แล้วข้าวจะออกดอกประมาณ 20
ตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ 20 พฤศจิกายนของทุกปี ส่วนนาหว่าน
น้ำตมแผนใหม่ ให้หว่านประมาณปลายเดือนกรกฎาคมถึง
ต้นเดือนสิงหาคม แล้วเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน
- ในพื้นที่ฝนตกน้อยหรือฝนล่า ควรทำนาหว่าน
หรือนาหยอด โดยช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมอยู่ระหว่างปลายเดือน
กรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม และข้าวจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วง
ปลายเดือนพฤศจิกายน
3. การเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวขาวหอมมะลิ 105
- นาหว่านข้าวแห้ง ในสภาพดินร่วนปนทรายที่
จังหวัดสุรินทร์และดินทรายปนดินร่วนที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จะเตรียมดิน
โดยการไถพรวนแล้วหว่านเมล็ดข้าวในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่
จากนั้นคราดกลบและโปรยฟางคลุม 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
จะทำให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้สูงถึง 500 กิโลกรัมต่อไร่
นาหว่านข้าวแห้ง
- นาดำ จะต้องไถดะทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน
จึงไถแปรอีกครั้ง เพื่อกำจัดต้นอ่อนของวัชพืชที่งอกขึ้นมาใหม่
แล้วคราดเพื่อดันวัชพืชให้จมอยุ่ใต้โคลน ในขณะเดียวกันก็เกลี่ย
โคลนปรับระดับหน้าดินไปด้วย จะทำให้ระดับน้ำในแปลงนาท่วม
คลุมวัชพืชได้อย่างทั่วถึง
นาดำ
- นาหว่านน้ำตมแผนใหม่ มีวิธีการเตรียมดินที่
ยุ่งยากกว่า 2 วิธีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากการไถดะทิ้งไว้ประมาณ 15
วัน แล้วไถแปรทิ้งไว้อีก 7 วัน จากนั้นไถแปรอีกครั้งแล้วคราด
เก็บเศษวัชพืชออกให้หมดหรือเหยียบขี้คราดดันเศษวัชพืชต่างๆ
ให้ลงไปอยู่ใต้โคลน แล้วจึงลูบเทือกให้เรียบสม่ำเสมอ แบ่งแปลง
ย่อยขนาดกว้าง 3-5 เมตร ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วจึงหว่านเมล็ด
หลังจากนั้น 4-5 วันให้ทยอดปล่อยน้ำเข้าท่วมหน้าดิน เพื่อคลุม
วัชพืชที่งอกตามระดับความสูงของน้ำจนถึงระดับประมาณ 10-15
เซนติเมตร ต้นข้าวจะเจริญเติบโตพอที่จะคลุมวัชพืชได้
นาหว่านน้ำตมแผนใหม่
- นาหยอด เป็นวิธีที่ไม่นิยมปลูกมากนัก แต่ถ้า
จำเป็นที่จะต้องปลูกด้วยวิธีนี้ ในช่วงเตรียมดินจะต้องกำจัดวัชพืช
ออกให้หมด และหลังจากหยอดเมล็ดข้าวแล้วควรคลุมฟางทับใน
อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อมีโอกาสได้รับน้ำฝนจะต้อง
เก็บกักน้ำให้ท่วมวัชพืช เพื่อกำจัดพืชที่งอกขึ้นมาใหม่
นาหยอด
4. ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม กล่าวคือ ถ้าเป็น
นาหว่านข้าวแห้ง ควรใช้ในอัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ นาหว่าน
น้ำตมแผนใหม่ 12-45 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีหยอด 6-8 กิโลกรัม
ต่อไร่ และวิธีปักดำใช้ 4-7 กิโลกรัมต่อไร่
5. ควรใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมและถูกวิธีดังนี้
การใส่ปุ๋ยนาดำ ควรใส่ 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ใส่ก่อนปักดำไม่เกิน 1 วัน หรือหลัง
ปักดำประมาณ 10-20 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 20-20-0,
28-22-0 หรือ 18-46-0 ในดินเหนียว และสูตร 16-16-8 ในดิน
ทราย อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน
(ประมาณวันที่ 20 กันยายนของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0
ในอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 ในอัตรา
5-10 กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ยนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ ควรใส่ 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 ใส่หลังหว่านข้าวแล้ว 20-30 วัน โดยใช้
ปุ๋ยสูตร 16-20-0, 20-20-0, 18-22-0 หรือ 18-46-0 ในดินเหนียว
และสูตร 16-16-8 ในนาดินทราย อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ในช่วงก่อนข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน
(ประมาณวันที่ 20 กันยายนของทุกปี) โดยใช้ปุ๋ยสูตร 21-0-0
ในอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรียในอัตรา 5-10 กิโลกรัม
ต่อไร่
ส่วนการทำนาหว่านข้าวแห้งและนาหยอด ไม่ควรใช้
ปุ๋ยเคมีเพราะให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า ถ้าจะใช้ให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือ
ปุ๋ยหมักเท่านั้น
6. มีการป้องกันกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรู