

การแปรสภาพของเศษพืชไปเป็นปุ๋ยหมักจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับการ
เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ภายในกองปุ๋ย และการเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณของ
จุลินทรีย์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญๆ ดังนี้
1. ชนิดและขนาดของวัสดุที่ใช้หมัก
วัสคุที่สามารถนำมาใช้ทำปุ๋ยหมักได้แก่เศษซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช
และสัตว์ แด่โดยปกติแล้ว ใน บ้านเราส่วนใหญ่จะได้มาจากพืชมากกว่า ดังนั้น
วัสคุที่ใช้หมักจึงเพ่งเล็งไปถึงการใช้เศษซากพืชเป็นสำคัญ ซึ่งก็มีอยู่มากมาย
หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการ
เกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ต้นถั่ว ฝ้าย เศษผัก
กากอ้อย แกลบ ขี้เลือย ขุยมะพร้าว ผักตบชวา เศษหญ้า หรือวัชพืชต่างๆ
แม้แด่พวกเศษขยะตามอาคารบ้านเรือน เช่น เศษกระดาษ ใบตอง กิ่งไม้ไบไม้
เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถรวบรวมมาทำปุ๋ยหมักได้ทั้งสิ้น วัสคุเหล่านี้เมื่อนำมา
ทำปุ๋ยหมัก บางชนิดก็ย่อยสลายได้ง่าย รวดเร็ว บางชนิดก็ย่อยสลายได้ช้า
ขึ้นอยู่กับเนื้อของวัสคุเหล่านั้น ว่ามีส่วนที่จุลินทรีย์สามารถใช้เป็นอาหารได้ยาก
หรือง่าย และมีแร่ธาตุอาหารอยู่พอเพียงกับความต้องการของจุลินทรีย์หรือไม่
ดังนั้นเราจึงอาจแบ่งวัสดุเหล่านี้ออกเป็น 2 พวก คือ
1.1 เศษพืชพวกสลายตัวง่าย เซ่น ผักตบชวา ต้นกล้วย ใบตอง
เศษหญ้าสด เศษพืชที่อวบน้ำ เศษผัก กากเมล็ดข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว
ต่างๆ เช่น ใบกระถิน ใบจามจุรี ต้น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว โสน
ปอเทือง ฯลฯ
1.2 เศษพวกสลายตัวได้ยาก เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย ขี้เลื่อย
ขุยมะพร้าว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ฯลฯ ปกติเศษพืชเหล่านี้จะมี
แร่ธาตุอาหารบางชนิดอยู่น้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการ