

เมื่อเอาเศษพืชหรือวัสดุที่จะใช้หมักมากองรวมกัน ทำการผสมคลุกเคล้า
กับมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี รดน้ำให้กองปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้ เมื่อสภาพ
ภายในกองเศษพืชเหมาะสม จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ติดมากับวัสดุที่ใช้หมักก็
จะเริ่มเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นมาโดยการเข้าย่อยสลายวัสดุที่เรานำมาหมัก
เพื่อใช้เป็นอาหารในช่วงแรกๆ นี้ ภายในกองวัสดุจะมีอาหารชนิดที่จุลินทรีย์
สามารถใช้ได้ง่ายๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านั้นจึงเจริญเติบโตและเพิ่ม
จำนวนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดความร้อนขึ้นมาในกองปุ๋ย ดังนั้นนับตั้งแต่
เริ่มตั้งกองปุ๋ยขึ้นมา กองปุ๋ยจะเริ่มมีความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทำการกองปุ๋ยได้
ถูกวิธี ภายในระยะเวลาเพียง 3-5 วัน กองปุ๋ยอาจร้อนถึง 55-70 องศาเซลเซียส
ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เศษพืชย่อย
สลายได้รวดเร็วและช่วยกำจัดจุลินทรีย์หลายชนิดที่ไม่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
พวกที่ทำให้เกิดโรคกับคนหรือกับพืช ช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับ
เศษพืช รวมทั้งไข่ของแมลงที่มีอยู่ภายในกองปุ๋ยได้
กองปุ๋ยจะร้อนระอุอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจกินเวลาประมาณ 15-
20 วัน แล้วความร้อนจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเนื้อของเศษพืชที่
ใช้หมักก็เปื่อยยุ่ยลงและมีสีคล้ำขึ้น จนในที่สุดกองปุ๋ยก็จะเย็นลง เศษพืชกลายเป็น
วัสคุที่มีลักษณะเป็นขุย ร่วนซุย มีสี