โรคพยาธิใบไม้ (pleurogenoides) พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้น พบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้อง ไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อน ซึ่งพบฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในลูกปลาที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาว ๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็ง บริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อย ๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้

การป้องกันและรักษา

1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง

2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือกำจัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา โรคพยาธิใบไม้ (pleurogenoides) พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้น พบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้อง ไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อน ซึ่งพบฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในลูกปลาที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาว ๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็ง บริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อย ๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้

การป้องกันและรักษา

1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง

2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือกำจัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา