โรคระบาดสัตว์ หมายถึง โรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับสัตว์ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โรคบางชนิด
สามารถติดต่อถึงคนได้ด้วย สาเหตุของโรคอาจเกิดจากเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย
เป็นต้น โรคระบาดสัตว์ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 มีอยู่ 11 โรค คือ
โรคปากและเท้าเปื่อย (Food and Mouth desease)
โรคคอบวม (Heamorrhagic Septicemia)
โรครินเดอร์เปสต์ (Rinderpest)
โรคทริคิโนซีส (Trichinosis)
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax)
โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis)
โรคอหิวาต์สุกร (Swine Fever)
โรคกาฬโรคเป็ด (Duck plague)
โรคเซอร่า (Surra)
โรคสารติก (Epizootic lymphangitis)
โรคมงคล่อพิษ (Glanders)
โรคอื่น ๆ ที่จัดว่าเป็นโรคระบาด และมีอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่ได้อยู่ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เช่น โรควัณโรคโค (Bovine Tubercellosis), โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นต้น
นอกจากโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีโรคระบาดสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ และอาจติดถึงคนได้ด้วยที่สำคัญคือ ยังไม่มีการระบาดในประเทศไทยมาก่อน เช่น โรควัวบ้า (Bovine Spong iform Encephalopathy), โรคกาฬโรคสัตว์ปีก (Fowlplague), โรคปอดบวมในโค (Contagious Bovine pleuroneumonia), Efrican Swine Fever เป็นต้น
โรคระบาดสัตว์เป็นที่เกิดการแพร่กระจายจากตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การจะทราบว่าสัตว์ป่วยด้วยโรคระบาดโดย
1. มีสัตว์ป่วยหรือตายอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุและมีสัตว์ป่วยในเวลาเดียวกันหลาย ๆ ตัว ด้วยอาการที่คล้ายคลึงกัน
2. เคยมีประวัติการเกิดโรคระบาดในพื้นที่นั้น ๆ มาก่อน


เมื่อสัตว์เกิดโรคระบาดขึ้นให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. รีบแจ้งสัตวแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์โดยทันทีเพื่อขอคำแนะนำในการป้องกันและรักษาโรค
2. แยกกักสัตว์ที่มีอาการป่วยออกจากฝูง