การตรวจสอบเครื่องยนต์ก่อนใช้งาน

ก่อนใช้งานควรตรวจสอบเครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ตรวจเช็คน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิงควรจะเต็มถัง ถ้าพบว่ามีปริมาณเชื้อเพลิงในถังน้อย ควรเติมให้เต็มถังเสียก่อน การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงควรเติมอย่างระมัดระวังไม่ให้มากเกินจนล้นจากถัง โดยการใช้กรอยและผ่านกรองเสียทีหนึ่งก่อนเพื่อกรองสิ่งสกปรกที่เจือปนมากับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการอุดตันในท่อทางเดินน้ำมันได้ และควรตั้งเครื่องยนต์ให้อยู่ในแนวราบในขณะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ตรวจเช็คน้ำมันหล่อลื่น (น้ำมันเครื่อง) น้ำมันหล่อลื่นในอ่างน้ำมันหล่อลื่นควรอยู่ในระดับที่พอดีของก้านวัด เมื่อดึงก้านวัดน้ำมันขึ้นมา ถ้าปรากฎว่ามีน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับ ควรเติมน้ำมันให้ได้ระดับพอดีและควรระวังอย่าให้เกินขีดที่กำหนดไว้บนก้านวัด เพราะถ้าปริมาณน้ำมันหล่อลื่นมีไม่พอหรือน้อยเกินไป ปั้มน้ำมันหล่อลื่นก็ไม่สามารถฉีดน้ำมันไปหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ได้ เช่น แบริ่งเพลาข้อเหวี่ยง กระบอกสูบ ลูกเบี้ยว ราวลิ้น ฯลฯ ได้เต็มที่ ซึ่งมีผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างมาก อาจทำให้ลูกสูบติดและแบริ่งละลายได้ ฉะนั้นน้ำมันหล่อลื่นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับเครื่องยนต์ น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ น้ำมันหล่อลื่นเป็นส่วนที่ต้องทำงานหนัก เพื่อให้เครื่องยนต์เดินไปเป็นปกติ จึงจำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพดี และถูกกับประเภทของเครื่องยนต์
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไปมักใช้ CA, CB, CC, SAE 30
CA เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ประเภทงานเบา
CB เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ประเภทงานปานกลาง
CC เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ประเภทงานหนัก
การเลือกซื้อน้ำมันหล่อลื่น ควรซื้อเป็นแกลลอน เลือกจากยี่ห้อที่มีชื่อเสียงและใช้กันทั่วไป และฝาปิดแกลลอนผนึกอย่างเรียบร้อย อย่าเห็นแก่ของถูกเพราะอาจได้น้ำมันหล่อลื่นปลอม ซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์อย่างยิ่ง
3. ตรวจเช็คระบบหล่อเย็น เครื่องยนต์ประเภทที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ควรตรวจดูน้ำในหม้อน้ำให้เต็มอยู่เสมอ เพราะการหมุนเวียนของน้ำจะไปหล่อเลี้ยงตามผนังด้านนอกของกระบอกสูบเพื่อไม่ให้เครื่องร้อนจัด เนื่องจากเครื่องยนต์เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ ส่วนที่เคลื่อนไหวเสียดสีกัน เช่น การเคลื่อนที่ขึ้นลงของลูกสูบในกระบอกสูบจะเกิดความร้อนขึ้น ถ้าไม่มีน้ำช่วยระบายความร้อนจะทำให้เครื่องร้อนจัด ฝาสูบอาจแตกร้าวได้
4. ตรวจเช็คกรองอากาศ กรองอากาศมีหน้าที่ดักฝุ่นละอองที่มีอยู่ทั่วไปในอากาศที่จะผ่านเข้าไปในกระบอกสูบ ถ้าฝุ่นละอองสามารถเข้าไปในกระบอกสูบได้ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานฝุ่นละอองเหล่านั้นจะขัดถูกระบอกสูบ ลูกสูบ และแหวนลูกสูบ ตลอดจนปลอกก้านลิ้นให้สึกหรอได้อย่างรดวเร็ว กรองอากาศแบบมีอ่างน้ำมันเครื่อง ควรตรวจดูระดับน้ำมันในหม้อกรองอากาศ และทำความสะอาด ถ้าพบว่าหม้อกรองอากาศสกปรก
5. ตรวจตั้งความตึงของสายพาน ความตึงของสายพานสามารถตั้งได้ โดยเอามือกดตรงกิ่งกลางของสายพานระหว่างมูเล่ของพัดลมกับมูเล่ของเพลาข้อเหวี่ยง ให้สายพานยุบตัวได้ประมาณ พ นิ้ว เมื่อเปลี่ยนสายพานใหม่ หลังจากใช้งานระยะหนึ่งแล้ว ควรตั้งสายพานใหม่ ความตึงของสายพานมีความสำคัญ เพราะถ้าสายพานตึงเกินไปจะทำให้ลูกปืนพัดลมหลวมได้ และทำให้สายพานเสียเร็ว แต่ถ้าหย่อนเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนได้

การถ่ายทอดกำลังจากเครื่องยนต์

จากมู่เล่ของเพลาข้อเหวี่ยง สำหรับที่จะนำกำลังออกมาใช้งานได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างมู่เล่กับเสื้อสูบ ไม่ควรใส่มู่เล่ให้ยื่นยาวห่างจากตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้ข้อเหวี่ยงโก่งได้ และจะได้กำลังออกมาน้อย

การคิดหาความโตของมู่เล่

เส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องยนต์ = D1
เส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องยนต์ = D2
ความเร็วรอบเครื่องยนต์ = RPM1
ความเร็วรอบเครื่องมือ = RPM 2
D1 = ( D2 x RPM2 ) / RPM1 D2 = ( D1 x RPM1 ) / RPM2

ตัวอย่าง

เครื่องยนต์เครื่องหนึ่งมีความเร็วรอบของเครื่องยนต์ 1200 รอบ/นาที และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของมู่เล่เครื่องยนต์กว้าง 4 นิ้ว ถ้าต้องการให้ความเร็วรอบ เครื่องมือหมุน 2400 รอบ/นาที จะต้องใช้มู่เล่ของเครื่องมือที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าไร หาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องมือ (D2) =
(ความเร็วรอบเครื่องยนต์ (R1) x เส้นผ่าศูนย์กลางเครื่องยนต์ (D1) )/ความเร็วรอบเครื่องมือ (R2)
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องมือ = (1200 x 4) / 2400 = 2 นิ้ว
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่าเครื่องมือ =
(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่าเครื่องมือ x ความเร็วรอบเครื่องมือ) /ความเร็วรอบเครื่องยนต์
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องมือ =
(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมู่เล่เครื่องยนต์ x ความเร็วรอบเครื่องยนต์)/ความเร็วรอบเครื่องมือ

การไล่ลมในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล จะมีลมหรืออากาศเข้าไปแทรกอยู่ในส่วนหนึ่งของระบบไม่ได้เลย ฉะนั้นไม่ควรใช้งานเครื่องยนต์ติดต่อกันนานจนน้ำมันเชื้อเพลิงหมดถัง จะทำให้อากาศแทรกเข้าไปในท่อทางเดินของน้ำมันได้เป็นเหตุให้เครื่องยนต์ดับ และสตาร์ทไม่ติด ซึ่งต้องทำการไล่ลมเสียก่อน

วิธีการไล่ลม

1. เติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็มถัง
2. คลายน๊อตไล่ลมที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงออก ปล่อยให้น้ำมันไหลล้นออกมาดูจนไม่มีฟองอากาศ จากนั้นจึงขันน๊อตให้แน่น เพื่อไม่ให้อากาศแทรกเข้าไปได้
3. คลายน๊อตไล่ลมที่ปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงออก ปล่อยให้น้ำมันไหลล้นออกมาจนไม่มีฟองอากาศ และขันน๊อตให้แน่น
4. ถอดสายแป๊ปหัวฉีดออก หมุนเครื่องยนต์จนกระทั่งน้ำมันเชื้อเพลิงไหลออกทางปลายแป๊ป และขันเข้ากับหัวฉีดให้แน่น จึงสามารถทำการติดเครื่องยนต์ได้