สีผสมอาหารจากธรรมชาติ

การใช้สีผสมอาหาร

การใช้สีผสมอาหารเพื่อแต่งสีของอาหาร จะต้องเลือกชนิดของสีผสมอาหาร ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และใช้ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยสีผสม อาหารที่ใช้ควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ไม่ทำให้คุณสมบัติของอาหารเปลี่ยนไปในทางเลวลง
2. มีความอยู่ตัวในอาหาร
3. ไม่เกิดปฎิกริยากับผลิตภัณฑ์อาหารและบรรจุภัณฑ์ที่ใช้
4. ง่ายต่อการใช้ในผลิตภัณฑ์
5. ราคาถูก
6. ให้ความเข้มของสีสูง
การใช้สีผสมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 551 (พ.ศ. 2524) ลงวันที่ 11 มกราคม 2525 การใช้สีผสมอาหารให้ใช้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
อันดับชนิดอาหาร เงื่อนไขการใช้สี
1.อาหารทารกไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
2.นมดัดแปลงสำหรับทารกไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
3. อาหารเสริมสำหรับเด็กไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
4. ผลไม้สด ผลไม้ดองไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
5. ผักดองไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
6. เนื้อสัตว์สดทุกชนิดไม่ให้ใช้สีทุกชนิด เว้นแต่ผงขมิ้น
หรือผงกะหรี่สำหรับไก่เท่านั้น
7. เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ปรุงแต่งและทำให้เค็มหรือ
หวาน เช่น ปลาเค็ม กุ้งเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็มปลาหวาน ฯลฯ
ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
8. เนื้อสัตว์ๆกชนิดที่ปรุงแต่ง รมควันหรือทำให้
แห้ง เช่น ปลาแห้ง กุ้งแห้ง หอยแห้ง ฯลฯ
ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
9. เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่ย่าง อบ นิ่ง หรือทอด เช่น
ไก่ หมู เนื้อ ย่าง อบ นิ่ง หรือทอด ฯลฯ
ไม่ให้ใช้สีทุกชนิดเว้นแต่สีที่ได้
จากธรรมชาติ
10. แหนมไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
11. กุนเชียง ไส้กรอกไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
12. ลูกชิ้น หมูยอไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
13. ทอดมันไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
14. กะปิไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
15. ข้าวเกรียบ เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา
หรือข้าวเกรียบในรูปลักษณะต่าง ๆ ฯล
ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด
16.บะหมี่กิ่งสำเร็จรูป เส้นบะหมี่ แผ่นเกี๊ยว
มี่ชั่ว สปาเก็ตตี้ และมักโรนี
ไม่ให้ใช้สีทุกชนิด เว้นแต่สีที่
ได้จากธรรมชาติ
17.น้ำพริกแกงไม่ให้ใช้สีทุกชนิด เว้นแต่สีที่
ได้จากธรรมชาติ
1 ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับพิเศษ เล่มที่ 99 ตอนที่ 27 25 กุมภาพันธ์ 2525,หน้า 25-28.