'สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่'

คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว
รมควันฆ่าเชื้อโรคก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุก ๆ ครั้งหลังจากข้อ 1
เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุก ๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศา F ความชื้น75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศา F
กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุก ๆ วัน ๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่ จากที่ ๆ อยู่เดิม
ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก
เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้

อายุการฟักไข่ อุณหภูมิความชื้น
องศา C
องศา F
%RH
ตุ้มเปียก
1 - 18 วัน
37.77
100
60
84
องศา F
18 - 21 วัน
37.2
99
 61-65 
 86-88 
องศา F

รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้วโดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม + ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที แล้วจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศเดินเครื่องอีก 30 นาที จากนั้นดำเนินการเปิดจัดการอื่น ๆ ตามปกติ
ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของการไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน หรือระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้วทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐาน ให้เปิดรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น
เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่าให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศา F ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ
บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุก ๆ วัน ๆ ละ 2 ครั้ง คือเวลาเช้า 7-8 น. และบ่าย 14-15 น. บันทึกลงในสมุดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบเทียบกับมาตรฐาน

บันทึกอุณหภูมิและความชื้นของตู้ฟักไข่ประจำเดือน

วันที่ เวลาเช้า 7-8 น. เวลาบ่าย 14-15 น.
อุณหภูมิ
(องศา F)
ความชื้น
(องศา F)
อุณหภูมิ
(องศา F)
ความชื้น
(องศา F)
1
2
3
4
.
.
.
.
30
31
       
เฉลี่ย        
กลับไข่ทุก ๆ ชั่วโมง หรือกลับตลอดเวลา ในกรณีตู้ฟักที่ใช้คันโยกสำหรับกลับไข่ ให้กลับวันละ 5-6 ครั้ง
ส่องไข่เชื้อตายและไม่มีเชื้อออกเมื่อฟักได้ 7, 14 และ 18 วัน แล้วลงบันทึกในแบบฟอร์มการฟักไข่ของแต่ละรุ่นในสมุดปกแข็งประจำโรงฟักไข่ โดยบันทึกเป็นรุ่น ๆ ละ สัปดาห์ติดต่อกัน

บันทึกประวัติการฟักไข่ไก่
รุ่นที่ วันที่ จำนวน ส่องไข่ 7 วันแรก เชื้อตาย เหลือ การฟักออก หมายเหตุ
เข้าพัก เข้าฟัก ไม่มีเชื้อ เชื้อตาย 14 วัน 18 วัน ตัว %









                   
ย้ายไข่อายุ 18 วัน ไปฟักในตู้เกิด (Hatcher) โดยให้ไข่นอนนิ่งบนถาดไข่และไม่มีการกลับไข่ในระยะนี้ในช่วง 3 วัน สุดท้ายนี้ตัวอ่อนจะเติบโตมาก สร้างความร้อนขึ้นได้เองในตัวอ่อน จึงต้องลดอุณหภูมิของตู้เกิดให้เหลือ 98.9-99 องศา F แต่ความชื้นตุ้มเปียกเพิ่มขึ้นเป็น 86 องศา F ตู้ฟักไข่บางตู้เกิดอยู่ชั้นล่าง ซึ่งการออกแบบส่วนใหญ่แล้วอุณหภูมิของชั้นล่างจะต่ำกว่าชั้นบนอยู่ประมาณ 1 องศา F ดังนั้นจึงต้องตั้งอุณหภูมิชั้นบนให้เป็น 100 องศา แล้วชั้นล่างจะเป็น 99 องศา F พอดีในกรณีเช่นนี้เราเพียงแต่เติมน้ำในถาดใส่น้ำให้เติม หรือเพิ่มถาดน้ำให้ได้ความชื้นตามที่ต้องการ
ย้ายลูกไก่ออกจากตู้เกิดในวันที่ 21 ของการฟัก บันทึกข้อมูลจำนวนลูกไก่ที่เกิดและตายโคมในวันที่ 22 คัดลูกไก่ที่ไม่สมบูรณ์และอ่อนแอออกพร้อมทั้งบันทึกความแข็งแรงปกติหรือข้อสังเกตในช่องหมายเหตุของแต่ละรุ่น นำถาดไข่ที่เปรอะเปื้อนขี้ของลูกไก่แช่ไว้ในถังน้ำและใช้แปรงขัดให้สะอาดล้างด้วยน้ำจืดอีกครั้ง แล้วนำไปตากแดดฆ่าเชื้อโรค ทำความสะอาดช่องที่เกิดลูกไก่ ปัดกวาดขนลูกไก่ออกและใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดถูพื้นและชั้นวางถาดพร้อมทั้งเอาผ้าชุบน้ำละลายด่างทับทิมเช็ดถูพื้น และชั้นวางถาดไข่ทุก ๆ ครั้ง ที่มีการนำลูกไก่ออกจากตู้
ล้างถาดใส่ไข่ที่ใช้สำหรับวางไข่ฟักอายุ 1-18 วัน ทุก ๆ สัปดาห์ก่อนนำไปใส่ไข่ฟักพร้อมทั้งทำความสะอาด กวาดฝุ่นบนหลังตู้ไม่ให้มีใยแมงมุมและวัสดุอื่น ๆ อุดตันช่องอากาศออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนหลังตู้ฟักทุก ๆ ตู้ให้ทำความสะอาดทุก ๆ เดือน ๆ ละ 1 ครั้ง การปิดตู้ทำความสะอาดครั้งละ 1-2 ชั่วโมง จะไม่มีผลกระทบต่อการฟักไข่ ดังนั้นทุก ๆ ครั้ง ที่ทำความสะอาดภายในตู้ฟักจึงสมควรปิดเครื่องก่อน ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากไฟช๊อตและพัดลมตี