'ขั้นตอนการเลี้ยงไก่พันธุ์'

การเลี้ยงลูกไก่เล็กอายุ 1-6 สัปดาห์ การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโตอายุ 7-14 สัปดาห์
การเลี้ยงไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์ การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ระยะแรกอายุ 21-36 สัปดาห์


'การเลี้ยงไก่เล็กอายุ

ลูกไก่ที่จะเลี้ยงไว้ทดแทนพ่อแม่พันธุ์หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นจะต้องมีการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟักให้ทำการตัดปากบนออก 1 ใน 3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่เพื่อให้ไก่อบอุ่นด้วยอุณหภูมิกก 95 องศา F ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศา F กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัวต่อตารางเมตรการกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกกเช่นกลางวันใกล้เที่ยงและบ่าย ๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และวางอยู่ใกล้รางอาหารทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 อัน ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลหลอดลมอักเสบติดต่อและฝีดาษ เมื่อลูกไก่อายุ 1-7 วัน ทำวัคซินทั้ง 3 ชนิด พร้อม ๆ กัน จากนั้นก็หยอดวัคซินป้องกันโรคนิวคาสเซิลซ้ำอีกเมื่ออายุ 21 วัน
การให้อาหารลูกไก่ระยะกก (1-14 วันแรก) ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่ให้อย่างเหลือเฟือจนเหลือล้นราง ซึ่งเป็นเหตุให้ตกหล่นมาก ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปดาห์ และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 น้ำหนักและจำนวนอาหารผสมที่ใช้เลี้ยงลูกไก่อายุ 0-6 สัปดาห์
อายุลูกไก่ น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว)
การจัดการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
สัปดาห์ที่ 1 70 8 - หยอดวัคซินป้องกันโรค
สัปดาห์ที่ 2 125 14   นิวคาสเซิล หลอดลมและ
สัปดาห์ที่ 3 130 19   ฝีดาษเมื่ออายุ 1-7 วัน
สัปดาห์ที่ 4 265 26 - อัตราการตายไม่เกิน 3%
สัปดาห์ที่ 5 350 32 - น้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสัปดาห์
สัปดาห์ที่ 6 46041- โดยการสุ่มตัวอย่าง 10%
- เพื่อชั่งน้ำหนักและหาค่าเฉลี่ย
  เปรียบเทียบกับมาตรฐาน

การให้อาหารไก่แต่ละสัปดาห์จะต้องมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักลูกไก่ ถ้าหากไก่หนักมากกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะต้องลดจำนวนอาหารที่ให้ลงไป หรือถ้าน้ำหนักเบามากกว่ามาตรฐานก็ต้องเพิ่มอาหารให้มากกว่าที่กำหนด รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพอาหารด้วย ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องทำการสุ่มชั่งน้ำหนักของลูกไก่ทุก ๆ สัปดาห์ แล้วเปรียบเทียบกับมาตรฐานพร้อมทั้งบันทึกข้อมูลในแบบฟอร์ม เช่นเดียวกับตารางที่ 1 ซึ่งจัดทำไว้ในสมุดปกแข็งของสถานี และเก็บไว้เป็นหลักฐานของแต่ละปีงบประมาณ
อาหารผสมที่ให้ในระยะ 0-6 สัปดาห์นี้มีโปรตีน 18% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 29000 M.E. Kcal/Kg แคลเซี่ยม 0.8% ฟอสฟอรัส 0.40% เกลือ 0.5% และมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนครบตามความต้องการ (ดังตารางที่ 2) สำหรับไวตามินจะให้มากกว่า NRC 20 หรือเสริมเพิ่มในอาหาร 120% ส่วนแร่ธาตุต่าง ๆ ให้ครบตามที่ NRC กำหนด ส่วนประกอบของอาหารที่รายละเอียดดังแสดงไว้ในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ส่วนประกอบของอาหารลูกไก่ อายุ 0-6 สัปดาห์
ส่วนประกอบในอาหาร%ในอาหารผสม สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน18 ข้าวโพด 63.37
กรดอะมิโนที่จำเป็น รำละเอียด 10.00
ไลซีน 0.85กากถั่วลิสง 44 10.88
เมทโธโอนีน+ซิสติน0.60 ใบกระถิ่นป่น 4.00
ทริปโตเฟน 0.17ปลาป่น (55%) 10.00
ทริโอนีน0.68เปลือกหอย 1.00
ไอโซลูซีน0.60เกลือ0.50
อาร์จินีน1.00*ฟ. ไก่ไข่เล็ก0.25
ลูซีน 1.00 รวม 100
เฟนิลอะลานี + ไทโรซีน 1.00
ฮิลติดิน 0.26
เวลีน 0.62
ไกลซีน + เซรีน 0.70
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(M.E. Kcal/Kg) 2,900
แคลเซี่ยม 0.80
ฟอสฟอรัส 0.40
เกลือ 0.50
ไวตามิน (% ของความต้องการ) 120
แร่ธาตุ ครบ
* ฟ = ฟรีมิกซ์


'การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโตอายุ

การเลี้ยงลูกไก่ระยะเจริญเติบโต อายุ 7-14 สัปดาห์ การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-14 สัปดาห์ นี้เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูง ๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.2 ตารางฟุต หรือไก่ 9 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมียเลี้ยงปนกันการเลี้ยงจะเลี้ยงแบบจำกัดอาหารให้ไก่กิน โดยจะปรับจำนวนอาหารที่ให้ทุก ๆ สัปดาห์ ตามตารางที่ 3 และจะต้องปรับเพิ่มหรือลด โดยดูจากน้ำหนักของไก่ โดยเฉลี่ยเป็นเครื่องชี้แนะ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลาทำความสะอาดขวดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้ว ต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถังที่ใช้แขวน จำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว และต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 6-8 แกลลอน ต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซินป้องกันโรคนิวคาสเซิลตัวละ 0.10 ซีซี. ฉีดเมื่อลูกไก่อายุครบ 10 สัปดาห์ ฉีดเพียงครั้งเดียวเข้าที่กล้ามเนื้อหน้าอกหรือโคนปีก วัคซินที่ฉีดเป็นวัคซินชนิดเชื้อเป็นเรียกว่าวัคซินป้องกันโรคนิวคาสเซิล เอ็ม พี วัคซิน 1 หลอดผสมน้ำกลั่น 10 ซีซี. แล้วแบ่งฉีดตัวละ 0.1 ซีซี. ดังนั้น จึงฉีดไก่ได้ 100 ตัวการฉีดให้ผลดีกว่าการแทงปีกและสามารถคุ้มกันโรคได้นานกว่า 1 ปี ในวันเดียวกันนี้ให้ฉีดวัคซินป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ตัวละ 2 ซีซี ด้วย


ตารางที่ 3 แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่รุ่นเพศเมีย อายุ 7-14 สัปดาห์ กินในแต่ละสัปดาห์
อายุไก่(สัปดาห์) น้ำหนักกรัม(กรัม/ตัว) จำนวนอาหาร(กรัม/ตัว/วัน) การจัดการอื่นที่เกี่ยวข้อง
7 680 45 - ตัดปากไก่ 1/3
8 770 47
9 860 50
10 950 52 - ฉีดวัคซินเอ็มพีและอหิวาต์ไก่
111040 54 - ให้แสงสว่างไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
12 1140 57
13 1230 59 - เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุก ๆ รุ่น
  ที่นำไก่รุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยง
14 1290 61

การให้อาหารจะต้องจำกัดให้กินอาหารให้มีปริมาณและคุณค่าทางโภชนะดังตารางที่ 3 และ 4 ถ้าไก่น้ำหนักเบามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด ก็ให้อาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักไก่ทุก ๆ สัปดาห์ โดยการสุ่มชั่ง 10% ของไก่ทั้งฝูงแล้วหาค่าเฉลี่ย นำไปเปรียบเทียบกับที่มาตรฐานกำหนด
เมื่อไก่อายุ 7 สัปดาห์ทำการตัดปากอีกครั้งหนึ่ง ให้ตัดปากบนออก 1 ใน 3 เพื่อป้องกันการจิกและให้คัดไก่ตัวที่มีขนาดลำตัวเล็กและไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การคัดไก่ที่ไม่สมบูรณ์และตัวเล็ก หรือกระเทยออกจะต้องปฏิบัติอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง ไม่ควรจะรอนานจนทำให้ไก่ทั้งฝูงดูแล้วไม่สม่ำเสมอ

ตารางที่ 4 แสดงส่วนประกอบของอาหารผสมสำหรับไก่รุ่นเพศผู้และเพศเมีย อายุ 7-14 สัปดาห์
ส่วนประกอบของอาหาร%ในอาหาร ส่วนผสมในอาหาร (กก.)
โปรตีน 15
กรดอะมิโน
ไลซีน 0.60 ข้าวโพด,ปลายข้าว 73.00
เมทโธโอนีน+ซิสติน 0.50 รำละเอียด 5
ทริปโตเฟน 0.14 ใบกระถิ่น 4
ทริโอนีน 0.57 กากถั่วลิสง 44% 12.25
ไอโซลูซีน 0.50 ปลาป่น 55% 3
อาร์จินีน 0.83 เปลือกหอยป่น 1
ลูซีน 0.83 ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 1
เฟนิลอะลานี + ไทโรซีน 0.83 8% p
ฮิลติดิน 0.22 เกลือป่น 0.5
เวลีน 0.52 ฟรีมิกซ์ 0.25
ไกลซีน + เซรีน 0.58 รวม 100
พลังงาน (M.E. Kcal/Kg) 2900
แคลเซี่ยม 0.70
ฟอสฟอรัส 0.35
เกลือ 0.50


'การเลี้ยงไก่สาวอายุ

การเลี้ยงไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์ ไก่สาวเริ่มเข้าอายุ 15 สัปดาห์ ให้ย้ายไก่สาวเหล่านี้ขึ้นเลี้ยงบนกรงตับขังเดี่ยวขนาดกรง 20x20x45 ซม. เป็นกรงตั้งชั้นเดียวเรียงเป็นแถวยาว วันที่นำไก่ขึ้นกรงตับผู้เลี้ยงจะต้องดำเนินการ 4 ประการ ด้วยกันคือชั่งน้ำหนักทุกตัวจากนั้นนำไปตัดปากบนของไก่ซ้ำอีกให้ปากบนสั้นกว่าปากล่าง ตัดปากด้วยเครื่องตัดปากไก่และจี้แผลด้วยความร้อนป้องกันเลือดออกมา เสร็จแล้วหยอดจมูกด้วยวัคซีนป้องกันโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ขั้นตอนต่อไปก็ให้ยาถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภท Peperazine ชนิดเม็ดทุก ๆ ตัว ๆ ละ 1 เม็ดสุดท้าย คืออาบน้ำยาฆ่าเหาไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผงชื่อเซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไก่ลงจุ่มน้ำมือถูกให้ขนเปียกพอถึงเวลาจะนำไก่ขึ้นจากน้ำก็จับหัวไก่จุ่มลงในน้ำแล้วรีบดึงขึ้นจากนั้นจึงนำไปใส่ในกรงไก่ต่อไป
การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กินสุ่มชั่งน้ำหนักทุก ๆ สัปดาห์ ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติทำความสะอาดคอกและกำจัดขี้ไก่ที่อยู่ใต้กรงทุก ๆ 3 เดือน และใต้กรงไก่ควรมีวัสดุรองพื้นประเภทแกลบและโรยด้วยปูนขาวเพื่อทำให้ขี้ไก่แห้งไม่มีหนอนแมลงวันอันเป็นสาเหตุให้มีกลิ่นเหม็น พื้นใต้กรงไก่ต้องเป็นพื้นดินเพราะดูดซับความชิ้นจากขี้ไก่ได้ดีพื้นซีเมนต์ไม่แนะนำการเลี้ยงไก่ระยะนี้ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าไก่ที่สมบูรณ์แข็งแรง ขี้ของไก่จะไม่เหลว ขี้ไก่เป็นแหล่งข้อมูลชี้เหตุความสมบูรณ์และความผิดปกติของไก่ได้ดีวิธีหนึ่ง ถ้าหากไก่ขี้เหลวเป็นน้ำเหม็น หรือมีเลือดปะปนจะต้องวินิจฉัยและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและสัตวแพทย์ คอกไก่กรงตับจะต้องเป็นคอกที่ระบายอากาศได้ดีไม่อับชื้นทำให้ขี้ไก่ไม่แห้งง่ายและชื้นแฉะ รอบด้านของคอกไก่ระดับจากพื้นดินสูงถึงพื้นกรงไก่ควรจะโปร่งไม่ตีไม้หรือวัสดุทึบแสงแต่จะตีกั้นด้วยลวดตาข่าย สูงกว่าพื้นกรงแม่ไก่ขึ้นไปอีก 45-50 ซม. จะตีฝาไม้หรือสังกะสีทึบแสงกันฝนสาดและแสงแดดกระทบถูกตัวไก่ ส่วนสูงจากนี้ขึ้นไปถึงหลังคาจะเป็นลวดตาข่ายบางแห่งอาจจะปล่อยให้ด้านข้างของโรงเรือนทั้ง 4 ด้าน โล่งหมดเพียงแต่ป้องกันไม่ให้ฝนสาดและแสงแดดกระทบถูกไก่โดยตรงเป็นใช้ได้
การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้จะต้องไม่ให้เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนดและอัตราการไข่ทั้งปีไม่ดี จะดีเฉพาะใน 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้นแสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้องกล่าวคือในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีนาคม-ตุลาคม เราไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำ หรือกลางคืนโดยหลักการแล้วแสงสว่างธรรมชาติ 8-12 ชั่วโมง เป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้าอีกส่วนในฤดูหนาวที่ตะวันตกดินและมืดเร็วจำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่มแต่รวมแล้วไม่ให้เกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิ้ลที่ระดับตัวไก่
การให้อาหารจะต้องจำกัดให้ไก่สาวกิน ตามตารางที่ 5 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุก ๆ สัปดาห์ด้วย ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เช้า 7-8 น. และบ่าย 2-3 น. ให้น้ำกินตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่ายเวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12% พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2900 M.E. Kcal/Kg แคลเซี่ยม 0.6% ฟอสฟอรัส 0.3% เกลือ 0.5% และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ

ตารางที่ 5 แสดงน้ำหนักไก่สาว จำนวนอาหารที่จำกัดให้กินและวิธีการจัดการอื่นที่เกี่ยวข้อง
สำหรับไก่สาวอายุ 15-20 สัปดาห์
อายุไก่สาว
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่น
ที่เกี่ยวข้อง
15 1,360 63.5 - ตัดปาก, หยอดวัคซิน
  หลอดลมอักเสบติดต่อ,
  ถ่ายพยาธิและอาบน้ำฆ่าเหา ไรไก่
- ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชม./วัน
- คัดไก่ป่วยออกเป็นระยะ ๆ
- ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
16 1,430 65.8
17 1,500 68.0
18 1,560 70.3
19 1,620 72.6
20 1,680 74.8

ตารางที่ 6 แสดงน้ำหนักตัวและจำนวนอาหารที่จำกัดให้ไก่ตัวผู้อายุ 15-20 สัปดาห์กิน
และการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อายุไก่ตัวผู้
(สัปดาห์)
น้ำหนัก
(กรัม/ตัว)
อาหารที่ให้กิน
(กรัม/ตัว/วัน)
การจัดการอื่น
ที่เกี่ยวข้อง
151,73080 - น้ำขึ้นกรงตับขังเดี่ยว
  พร้อมหยอดหลอดลมอักเสบติดต่อ
  ถ่ายพยาธิภายนอกและภายใน
  ในวันที่ขึ้นกรงตับ
- ให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชม.
- ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน
161,820 83
171,91086
182,00090
192,13095
202,22099

ตารางที่ 7 แสดงส่วนประกอบของอาหารไก่สาว อายุ 15-20 สัปดาห์และสูตรอาหาร
โภชนะของอาหารผสม %ในอาหาร สูตรอาหารผสม (กก.)
โปรตีน 12 ข้าวโพด,ปลายข้าว 76.00
กรดอะมิโน ข้าวฟ่าง, รำละเอียด 10.00
ไลซีน 0.45 กากถั่วเหลือง 7.00
เมทโธโอนีน+ซิสติน 0.40 ปลาป่น 55% -
ทริปโตเฟน 0.11 ใบกระถิน 4
ทริโอนีน 0.37 เปลือกหอยป่น 1
ไอโซลูซีน 0.40 ไดแคลเซี่ยมฟอสเฟต 1
อาร์จินีน 0.67 8% p
ลูซีน 0.67 กรดอะมิโนไลซีน -
เฟนิลอะลานี + ไทโรซีน 0.67 กรดอะมิโนเมไธโอนีน -
ฮิลติดิน 0.17 เกลือป่น 0.25
เวลีน 0.41 ฟรีมิกซ์ 0.50
ไกลซีน + เซรีน 0.47 รวม 100
พลังงาน (M.E. Kcal/Kg) 2900
แคลเซี่ยม 0.60
ฟอสฟอรัส 0.30
เกลือ 0.50


'การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์ระยะแรกอายุ

1. ไก่พ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงอยู่บนกรงตับต่อจากรุ่นหนุ่มสาวนั้นแม่ไก่ จะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุประมาณ 150 วัน หรือ 5-5.5 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ให้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อไก่นำไปสร้างไข่รวมทั้งเพิ่มแร่ธาตุแคลเซี่ยม จากเดิม 0.60% เป็น 3.36% ฟอสฟอรัส 0.3% เป็น 0.42% เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่ไก่ แต่มีธาตุแคลเซี่ยมต่ำกว่า คือ 0.60% และฟอสฟอรัส 0.3% เท่า ๆ กับในอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว ทั้งนี้เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่จึงไม่จำเป็นจะต้องให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสสูงและอีกประการหนึ่งการให้ธาตุแคลเซี่ยมสูงเช่นเดียวกับไก่แม่พันธุ์ หรือให้อาหารสูตรเดียวกับไก่แม่พันธุ์นั้น มีการค้นคว้าและวิจัยพบว่าทำให้การผสมพันธุ์ของพ่อไก่ไม่ดี มีน้ำเชื้อน้อยและผสมไม่ติด ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารให้ไก่พ่อแม่พันธุ์กินจำนวนอาหารที่ให้แม่ไก่กินขึ้นอยู่กับอัตราการไข่ของแม่ไก่แม่ไก่ไข่มากกว่าก็ให้กินมากไข่น้อยก็ให้อาหารลดลงตามส่วน ดังตารางที่ 9

2. สิ่งที่จะต้องปรับอันที่สองนอกเหนือจากเรื่องอาหาร คือ เรื่องของแสงสว่าง เพราะแสงสว่างจะมีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่การให้แสงสว่างต่อวันไม่เพียงพอ แม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่ และการจัดการเรื่องอื่น ๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ผ่านทางตาไก่แสงสว่างที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟุตแคลเดิ๊ลในระดับตัวไก่ และเวลาที่ให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน การให้แสงสว่างมากไม่ดี เพราะทำให้ไก่ไข่ไม่เป็นเวลากระจัดกระจาย บางครั้ง ไข่กลางคืนอีกด้วย ไก่จะจิกกันมากตื่นตกใจง่ายและมดลูกทะลักออกมาข้างนอก การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบติดต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14 น. ทุก ๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาว อายุ 15-20 สัปดาห์ เรากำจัดเวลาการให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง จนถึง สุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง การให้แสงด้วยหลอดไฟนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีใส้ทังสะเต็ลที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่ว ๆ ไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่าไม่สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากเท่ากับหลอดที่มีใส้ดังกล่าวสำหรับสีของแสงควรให้เป็นสีขาวเพราะหาได้ง่ายราคาถูกและให้ผลดีกว่าสีอื่น ๆ

การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิ๊ล (Foot Candle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่ คำนวณได้จากสูตรดังนี้

ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ x ระยะทางจากหลอดไฟถึงจุดที่ต้องการวัดคิดเป็นฟุต

สรุปโดยย่อใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างจากกัน 10-14 ฟุต สำหรับเปิดไฟเสริมในเวลามืดและกลางคืนให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง เป็นพอเพียง

3. บันทึกจำนวนไข่และน้ำหนักไข่ในบัตรประจำตัวแม่ไก่โดยบันทึกการไข่ทุก ๆ วัน ส่วนน้ำหนักไข่ให้ชั่งน้ำหนักไข่ทุก ๆ สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน แล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักไข่ต่อสัปดาห์และต่อเดือนต่อไป ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกอัตราการไข่แต่ละเดือน ให้จัดทำเป็นกราฟแสดงไว้บนกระดานดำแสดงสถิติและข้อมูลอื่นของไก่ที่อยู่ในคอกไก่นั้น ๆ การคำนวณอัตราการไข่ให้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของไก่ที่ให้ไข่ต่อระยะเวลาที่กำหนด (Hen-day Egg production)

อัตราการไข่ = จำนวนแม่ไก่ x 100%
                จำนวนแม่ไก่

อัตราการไข่ในเดือนมกราคม = จำนวนไข่รวม 30 วัน x 100%
                                    จำนวนแม่ไก่ x 31

นำข้อมูลมาทำกราฟให้แกนนอนเป็นเวลา แกนตั้งเป็นเปอร์เซ็นต์ไข่แล้วเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานดังภาพที่ 1 และตารางที่ 8


รูปที่ 1 แสดงกราฟมาตรฐานการไข่ของไก่แม่พันธุ์โร๊ดไอแลนด์แดงและบาร์พลีมัธร๊อก

ตารางที่ 8 แสดงมาตรฐานปริมาณและอัตราการไข่ของแม่ไก่อายุต่าง ๆ กันตั้งแต่แม่ไก่ไข่ฟองแรก
ของไก่พันธุ์โร๊ดไอแลนด์แดงและบาร์พลีมัธร๊อก
อัตราการไข่(สัปดาห์) อัตราการไข่(%) อายุการไข่(สัปดาห์) อัตราการไข่(%) อายุการไข่(สัปดาห์) อัตราการไข่(%)
1 5 18 84 35 71
2 17 19 83 36 70
3 34 20 83 37 70
4 54 21 82 38 69
5 71 22 81 39 68
6 89 23 80 40 67
7 92 24 79 41 57
8 90 25 79 42 66
9 89 26 78 42 65
10 89 27 77 44 64
11 89 28 76 45 64
12 88 29 76 46 63
13 88 30 75 47 62
14 87 31 74 48 61
15 86 32 73 49 61
16 86 33 73 50 60
17 85 34 72 51 59
52 58
รวม   264   ฟอง/ตัว
เฉลี่ย   72.4 %

ตารางที่ 9 จำนวนอาหารผสมที่มีโปรตีน 16% พลังงาน 2900 M.E. Kcal/Kg ที่ให้แม่ไก่กิน
ตามอัตราการไข่ น้ำหนักไข่และน้ำหนักตัวของแม่ไก่

นน.ตัว(กรัม/ตัว) นน.ไข่(กรัม/ฟอง) อัตราการไข่ต่อวัน (%)
50 60 70 80 90 100
1.59 52.0 70 78 84 91 99 106
1.59 56.7 73 81 89 96 104 112
1.59 61.4 76 84 92 100 108 116
1.59 66.4 79 88 98 106 116 124
1.71 52.0 69 77 84 91 98 105
1.71 56.7 79 80 88 96 104 111
1.71 61.4 75 83 91 99 108 116
1.71 66.1 79 88 98 106 115 124
1.82 52.0 68 76 83 89 97 104
1.82 56.7 71 79 87 94 103 110
1.82 61.4 74 82 90 98 106 114
1.82 66.1 78 86 96 104 114 123
1.93 52.0 67 75 84 89 96 103
1.93 56.7 71 78 88 94 102 109
1.93 61.4 73 81 9198 106 114
1.93 66.1 77 86 97 104 113 122
2.04 52.0 66 74 83 88 95 102
2.04 56.7 69 77 87 93 101 108
2.04 61.4 72 80 90 96 104 113
2.04 66.1 69 84 96 103 112 121
2.15 52.0 65 73 82 87 94 101
2.15 56.7 69 76 86 92 100 108
2.15 61.4 71 79 89 96 104 112
2.15 66.1 69 84 95 102 111 120

สูตรอาหารแม่ไก่ไข่
วัตถุดิบอาหาร ปริมาณ หมายเลข/โภชนะ อาหาร ต้องการ เกินหรือขาด
1. ข้าวโพด
2. กากถั่วเหลือง (44%)
3. ใบกระถินป่น
4. ปลาป่น (55%)
5. เปลือกหอย
6. ไดแดล (p/18)
7. เกลือ
8. DL/เมทไธโอนีน
9. พ.แม่ไก่ไข่
รวม 100.00 กก.
ราคา 4.67 บาท/กก.
(อาจเปลี่ยนแปลงได้)
66.06
14.63
4.00
5.00
8.50
1.00
0.50
0.06
0.25
1. โปรตีน
2. พลังงานหมู่
3. พลังงานไก่
4. ไขมัน
5. เยื่อใย
6. แคลเซี่ยม
7. ฟอส.รวม
8. ฟอส.ใช้ได้
9. ลิโนลิอิค
10. แซนโทพิล
11. ไลซีน
12. เมท+ซิส
13. ทริปโตเฟน
14. ทริโอนีน
15. ไอโซลูซีน
16. ลูซีน
17. อาร์จินีน
18. เฟน+ไทโร
19. ฮิสติดิน
20. เวลีน
16.00
2772.78
2743.19
3.33
3.45
3.92
0.50
0.48
0.00
0.00
0.80
0.61
0.18
0.60
0.73
1.52
0.93
1.17
0.40
0.81
16.00
0.00
2900.0
0.00
0.00
3.75
0.00
0.35
0.00
0.00
0.71
0.61
0.15
0.50
0.55
0.81
0.75
0.88
0.17
0.61
0.00
2772.78
-156.81
3.33
3.45
0.17
0.50
0.13
0.00
0.00
0.09
0.00
0.03
0.10
0.18
0.71
0.18
0.29
0.23
0.20

หมายเหตุ อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอยลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นเป็น 73.56 กก. นอกนั้นคงเดิม

ตารางที่ 10 แสดงส่วนประกอบของไวตามิน และแร่ธาตุในอาหารของไก่พันธุ์โร๊ดไอแลนด์แดง
และบาร์พลีมัธร๊อคของกรมปศุสัตว์
ไก่เล็ก ไก่ไข่ ไก่พ่อ-แม่พันธุ์
0-8(ส.ป.) 9-20(ส.ป.) 21-72(ส.ป.) 28-72(ส.ป.)
ความต้องการไวตามิน
ต่ออาหาร 1 กก.
ไวตามิน เอ. (ไอยู)
ไวตามิน ดี3 (ไอ ยู)
ไวตามินอี (ไอ ยู)
ไวตามินเค (ม.ก.)
ไทนามิน (ม.ก.)
ไรโบฟลาวิน (ม.ก.)
ไนอาซีน (ม.ก.)
โคลีน (ม.ก.)
กรดเพนติโตธินิค (ม.ก.)
กรดโฟลิกไพริด๊อกซีน (ม.ก.)
ไบโอติน (ม.ก.)
ไวตามิน บี 12 (ม.ก.)
ความต้องการแร่ธาตุ
ต่ออาหาร 1 กก.
แมงกานีส (ม.ก.)
เหล็ก (ม.ก.)
ทองแดง (ม.ก.)
สังกะสี (ม.ก.)
ซีลีเนียม (ม.ก.)
ไอโอดีน (ม.ก.)
แมกนีเซี่ยม (ม.ก.)


9000
1300
15
1.5
2.2
5.0
40.0
1600.0
13.0
0.75
4.0
0.2
12.0


66.0
96.0
5.0
60.0
0.15
0.42
600.0


7000
1200
10.0
1.5
2.0
4.0
30.0
1400.0
11.0
0.60
3.5
0.15
10.0


66.0
96.0
5.0
60.0
0.10
0.42
600.0


7500
1300
7.5
1.5
1.5
4.5
30.0
1400.0
10.0
0.75
3.0
0.2
10.0


66.0
96.0
5.0
60.0
0.10
0.42
600.0


7500
1300
10.0
1.5
2.2
6.5
30.0
1400.0
12.0
1.0
4.0
0.3
14.0


66.0
96.0
5.0
60.0
0.10
0.42
600.0