กีบเป็นเนื้อเยื่อแข็งที่หุ้มส่วนปลายเท้าโคไว้ป้องกันอันตรายจากภายนอกเสมือนคนสวมรองเท้า กีบของขาหลังมีปัญหามากกว่าของขาหน้า กีบในของขาหลังรับน้ำหนักค่อนข้างคงที่ ส่วนกีบนอกรับน้ำหนักแปรผันมากและถูกกระตุ้นตลอดเวลาที่สัตว์เคลื่อนไหวเท้า จึงเจริญงอกยาวและสูงกว่ากีบในเมื่อสัตว์มีอายุมากขึ้น และกีบที่สูงกว่านี้จะต้องรับน้ำหนักมากกว่า โคจึงปรับท่ายืนเพื่อกระจายน้ำหนัก โดยการบิดข้อขาหลังเข้าหากันและถ่างปลายเท้าออก
ส่วนขาหน้า ปัญหามักเกิดกับกีบใน ซึ่งในรายที่ผิดปกติ กีบสูง-หนาไม่เท่ากัน สัตว์จะเดินลำบากและยืนไม่ทน กีบที่สูงรับน้ำหนักมากนาน ๆ จะเกิดรอยช้ำอันเนื่องมาจากการกดของกระดูกเท้า หากปล่อยทิ้งไว้การอักเสบลุกลามจะเกิดเป็นแผลหลุมได้ เกษตรกรควรแก้ไขความผิดปกติเสียแต่เนิ่น ๆ โดยให้ผู้ชำนาญมาทำการตัดแต่งกีบที่ผิดรูปแบบเสียก่อนที่โคจะแสดงอาการ
ในฤดูฝน ถ้าเกษตรกรสังเกตเห็นกีบโคในฝูง เริ่มมีลักษณะยุ่ยเปื่อยและเนื้อเยื่อกีบอักเสบ ควรป้องกันโรคกีบเน่า โดย
1. ล้างเท้าโคให้สะดวกด้วยน้ำ
2. ละลายจุนสี 1-2 ช้อนสังกะสี ในน้ำ 10 ลิตร หรือฟอร์มาลิน 3-5 ลิตรในน้ำ 100 ลิตร
3. ราดเท้าโคด้วยสารละลายนี้ 2 ครั้ง ห่างกัน 1 วัน และถ้าจำเป็นให้ทำซ้ำเช่นนี้ได้ทุก 2-3 สัปดาห์ จะทำ