ประเทศไทยยังไม่มีแมลงศัตรูชาที่ระบาดทำความเสียหายรุนแรงให้แก่ต้นชา อาจเพราะพื้นที่ปลูกชาอยู่กระจัดกระจาย แต่ละแหล่งก็ปลูไม่มากทำให้มีการดูแลรักษาได้ทั่วถึง อีกทั้งมีศัตรูธรรมชาติคอยควบคุม ซึ่งแมลงศัตรูของชาที่พบในประเทศไทย และมีความสำคัญคือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Helopeltis sp. เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของชา เป็นแมลงชนิดปากดูด ตัวเต็มวัย มีลักษณะคล้ายยุงลำต้วปีกและขามีสีดำ ท้องสีเขียวกลางหลังจะมีสีเหลือง

ลักษณะการทำลาย ใบชาที่ถูกทำลายจะมีรอยแผลไหม้เป็นวงเล็กๆ หรือเป็นจุดๆ ทำให้ยอดและใบอ่อนหงิกงอได้

การป้องกันกำจัด ใช้สารไพรทรอยสังเคราะห์ฉีดพ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ (Oligonychus coffear (Niether)

ลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนของชา ทำให้ใบชาหด หงิกงอ

การป้องกันกำจัด ระยะที่โรคระบาดให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด acaricide อัตรา 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดให้เปียกทั้งส่วนบนและล่างใบและฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 1-2 สัปดาห์

ลักษณะการทำลาย จะทำลายใบชาโดยการดูดน้ำเลี้ยง ทำให้ใบหงิก ใบย่อน และม้วนต่ำลง

การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเชวิน ความเข้มข้น 0.5% ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Homona coffearia (Niether)

ลักษณะการทำลาย จะทำความเสียหายต่อใบและยอดอ่อนของชา โดยหนอนจะนำใบมาติดกันแล้วกัดกินใบ ตัวแม่เป็นผีเสื้อ - กลางคืน ออกวางไข่บนใบชาเป็นกลุ่มๆ ละ 100 ฟองหรือมากกว่านั้น ไข่จะฟักเป็นตัวบุ้งโตเต็มที่ยาว 12-20 มิลลิเมตร เมื่อเข้าดักแด้จะใช้ใบชาสร้างรัง

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งชาเป็นประจำทุกปี ร่วมกับการใช้วิธีทางชีววิธีโดยนำตัวห้ำ ตัวเบียนตามธรรมชาติ เช่น แมลงประเภทต่อ (wasp) มาใช้

ลักษณะการทำลาย พวกหนอนกินใบต่างๆ จะมีการระบาดในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยจะกัดกินใบทำให้ใบเป็นรูเว้าแหว่ง

การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี Endosulfan 1 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดให้เปียกทั่วใบชา และไม้บังร่มชา